เมนู

ธาตุและอายตนะ ว่า ขันธ์ ธาตุและอายตนะเป็นของเรา บุคคลรู้ไม่สำคัญ
อยู่อย่างนี้ ย่อมไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่สะดุ้งกลัว
เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ย่อมดับสนิทได้เฉพาะตนทีเดียว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำ เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็น
ที่สบายแก่การเพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหามานะและทิฏฐิ.
จบ ปฐมสัปปายสูตรที่ 9

อรรถกถาปฐมสัปปายสูตรที่ 9


ในสูตรที่ 9 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สมุคฺฆาตสปฺปายา ได้แก่ เป็นอุปการะแก่การเพิกถอน.
บทว่า ตโต ตํ โหติ อญฺญถา ความว่า สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่น
จากที่สำคัญนั้น. บทว่า อญฺญถาภาวี ภวสตฺโต โลโก ภวเมว
อภินนฺทติ
ความว่า สัตว์แม้มีความเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ด้วยการ
เข้าถึงความเป็นอย่างอื่น คือความเปลี่ยนแปลงก็ยังติด คือข้อง คือกังวล
อยู่ในภพ สัตว์โลกนี้จึงชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินเฉพาะภพเท่านั้น. บทว่า
ยาวตา ภิกฺขเว ขนฺธธาตุอายตนํ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนั้น
ย่อมไม่สำคัญแม้ขันธ์ธาตุและอายตนะนี้มีประมาณเท่าใดว่า ขันธ์ทั้งหลาย
ธาตุทั้งหลาย และอายตนะ ดังนี้. ด้วยบทว่า ตมฺปิ น มญฺญติ ทรงชัก
เอาข้อที่บุคคลถือเอาในหนหลังนั่นแลมาแสดงอีก. ในพระสูตรนี้ ตรัส
วิปัสสนาให้บรรลุพระอรหัตในฐานะ 148.
จบ อรรถกถาปฐมสัปปายสูตรที่ 9

10. ทุติยสัปปายสูตร


ว่าด้วยทรงแสดงข้อปฏิบัติที่สบายแก่การเพิกถอนสิ่งทั้งปวง


[ 35 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบาย
แก่การเพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหามานะและทิฏฐิแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติ
อันเป็นที่สบายแก่การเพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหามานะและ
ทิฏฐิเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อ
นั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เที่ยง
พระเจ้าข้า.
พ. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร
หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เทียง.
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร
หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.